หัวข้อ   “ โฉมหน้า ครม. พล.อ.ประยุทธ์ ความเชื่อมั่น และความคาดหวังของประชาชน
ประชาชน 86.5% เชื่อมั่นในความสามารถของนายกรัฐมนตรี
74.4% มีความเชื่อมั่นในความสามารถของรัฐมนตรีใหม่ในภาพรวม และ 68.2% เชื่อมั่นในทีมเศรษฐกิจ
69.3% คาดหวังว่าจะทำงานดีกว่ารัฐบาลชุดก่อนๆ
สิ่งแรกที่ ครม.ใหม่ต้องทำคือ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
รัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนเรื่อง “โฉมหน้า ครม. พล.อ.ประยุทธ์ ความเชื่อมั่น และความคาดหวัง
ของประชาชน”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,214 คน
จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 86.5 มีความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ขณะที่ร้อยละ 10.6 ไม่เชื่อมั่น
 
                  ส่วนความเชื่อมั่นโดยรวมในความรู้ความสามารถของรัฐมนตรี
ใหม่นั้น ประชาชนร้อยละ 74.4 ระบุว่ามีความเชื่อมั่น
ขณะที่ร้อยละ 19.8 ระบุว่า
ไม่เชื่อมั่น เช่นเดียวกับ ทีมเศรษฐกิจที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.2 มีความ
เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถด้วยเช่นกัน
ขณะที่ร้อยละ 23.4 ไม่เชื่อมั่น
 
                  ส่วนความคาดหวังในการทำหน้าที่ของ ครม.ชุดใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับ ครม.ชุดก่อนๆ พบว่า
ประชาชนร้อยละ 69.3 คาดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะทำงานได้ดีกว่า
ขณะที่ ร้อยละ 9.6 คาดว่าคงทำงานได้พอกัน
และมีเพียงร้อยละ 1.8 เท่านั้นที่คาดว่าคงทำงานได้แย่กว่า และร้อยละ 16.9 ไม่ได้คาดหวังไว้
 
                  สำหรับสิ่งแรกที่อยากให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทำมากที่สุดนั้น ประชาชนร้อยละ 39.5 อยากให้
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง สินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง
รองลงมาร้อยละ 16.8 อยากให้แก้ปัญหาราคา
สินค้าเกษตรตกต่ำ เช่น ข้าว ยางพารา และร้อยละ 12.2 อยากให้แก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้หมดไป
 
                 เมื่อถามถึงทิศทางสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 86.3 เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองไทยจะดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับ
ประชาชนร้อยละ 78.8 ที่เชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากที่สุด
23.5
เชื่อมั่นมาก
63.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
9.2
ไม่เชื่อมั่นเลย
1.4
ไม่ออกความเห็น
2.9
 
 
             2. ความเชื่อมั่นโดยรวมในความรู้ความสามารถของ รัฐมนตรีใหม่

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากที่สุด
10.0
เชื่อมั่นมาก
64.4
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
18.0
ไม่เชื่อมั่นเลย
1.8
ไม่ออกความเห็น
5.8
 
 
             3. ความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของ ทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากที่สุด
11.0
เชื่อมั่นมาก
57.2
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
20.9
ไม่เชื่อมั่นเลย
2.5
ไม่ออกความเห็น
8.4
 
 
             4. ความคาดหวังในการทำหน้าที่ของ ครม.ชุดใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับ ครม.ชุดก่อนๆ

 
ร้อยละ
คาดว่าจะทำงานได้ดีกว่า ครม. ชุดก่อนๆ
69.3
คาดว่าคงทำงานได้พอๆ กับ ครม.ชุดก่อนๆ
9.6
คาดว่าคงทำงานได้แย่กว่า ครม. ชุดก่อนๆ
1.8
ไม่ได้คาดหวังไว้
16.9
ไม่ออกความเห็น
2.4
 
 
             5. สิ่งแรกที่อยากให้ คณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำมากที่สุด 5 อันดับแรก                  (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง สินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง
39.5
ให้แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เช่น ข้าว ยางพารา
16.8
ให้แก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้หมดไป
12.2
ทำให้บ้านเมืองกลับมาสงบสุข สามัคคีกัน เหมือนเดิม
8.6
ให้ปราบปรามยาเสพติด บ่อนการพนัน
5.9
 
 
             6. ความเห็นต่อทิศทางสถานการณ์การเมืองของไทยภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี
                 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
86.3
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
11.7
เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าเดิม
2.0
 
 
             7. ความเห็นต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
78.8
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
17.0
เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าเดิม
4.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความรู้ความสามารถของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และทีมเศรษฐกิจ
รวมถึงความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในด้านต่างๆ และเรื่องที่อยากให้ ครม.ชุดใหม่ทำเป็น
สิ่งแรก เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒนาประเทศต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) จากนั้นได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1 – 2 กันยายน 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 กันยายน 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
639
52.6
             หญิง
575
47.4
รวม
1,214
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
166
13.7
             31 – 40 ปี
305
25.1
             41 – 50 ปี
340
28.0
             51 – 60 ปี
256
21.1
             61 ปีขึ้นไป
147
12.1
รวม
1,214
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
776
63.9
             ปริญญาตรี
337
27.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
101
8.3
รวม
1,214
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
184
15.2
             ลูกจ้างเอกชน
288
23.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
492
40.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
92
7.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
134
11.0
             นักเรียน/ นักศึกษา
18
1.5
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
6
0.5
รวม
1,214
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776